พี่น้องที่รัก
เมื่อวันอังคารที่ 14
กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เป็นวันที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า วันวาเลนไทน์
ซึ่งทุกคนเข้าใจว่าเป็นวันแห่งความรัก
มีประเพณีส่งดอกกุหลาบสีแดงซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความรักถึงกัน
เมื่อไปดูที่มาของวันวันนี้ก็พบว่า วาเลนไทน์เป็นชื่อของนักบุญองค์หนึ่ง
พ่อเลยขอนำประวัติของนักบุญวาเลนไทน์มาเล่าให้พี่น้องฟังกันสักหน่อย
วาเลนไทน์เป็นพระสงฆ์คาทอลิก
มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 3 อาศัยอยู่ในกรุงโรม
ในเวลานั้นกรุงโรมมีจักรพรรดิ์ชื่อ คลอดิอุสที่สอง
จักรพรรดิ์องค์นี้เป็นผู้ปกครองที่โหดร้าย
ช่วงเวลานั้นโรมต้องเผชิญกับการสงครามหลายด้าน
จักรพรรดิ์จำเป็นต้องจัดวางให้มีกองกำลังทหารที่เข้มแข็งมากพอ แต่ประสบปัญหาว่าหาคนมาเป็นทหารได้ยาก
คลอดิอุสรู้ว่าชายหนุ่มชาวโรมันเมื่อแต่งงานมีภรรยามีครอบครัวแล้วก็ไม่อยากทิ้งห่างจากครอบครัวมาเป็นทหาร
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ คลอดิอุสจึงออกกฏห้ามจัดการแต่งงาน และ การหมั้นหมาย
ในกรุงโรม
คุณพ่อวาเลนไทน์
รู้สึกว่าข้อห้ามนี้ขาดความยุติธรรม
ท่านจึงปฏิเสธที่จะทำตาม ท่านจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักที่ยังหนุ่มยังสาวแบบเงียบๆอยู่ต่อไป
ชายหนุ่มที่แต่งงานแล้วก็ไม่ยอมไปเข้าร่วมในกองทัพ และไม่ต้องออกรบ
นอกจากนี้คุณพ่อยังหาทางช่วยเหลือพวกคริสตังที่ถูกเบียดเบียน
และชักจูงผู้คนให้มามีความเชื่อในพระเจ้าและมารับศีลล้างบาปเป็นคริสตชน
ไม่นานนักสิ่งที่คุณพ่อวาเลนไทน์ทำก็ถูกเปิดเผย
จักรพรรดิ์คลอดิอุส ออกคำสั่งให้ประหารชีวิตท่าน คุณพ่อถูกจับและถูกนำพาไปยังศาล
ศาลสั่งให้เฆี่ยนตีท่านจนถึงแก่ชีวิต และตัดศีรษะท่าน คำสั่งนี้เกิดขึ้นในวันที่ 14
กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.270
"ถ้าเราเชื่อในพระเจ้า
พระเจ้าจะทรงฟังคำภาวนาของเรา พระเจ้าจะประทานในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา
ขอให้เราเชื่อในพระองค์" จูเลียมีความมั่นใจในคำสอนของคุณพ่อวาเลนไทน์
เธอจึงเริ่มสวดภาวนาขอพระเจ้าโปรดประทานพรให้เธอสามารถมองเห็นได้
ในระหว่างอาทิตย์สุดท้ายของชีวิตของคุณพ่อวาเลนไทน์
มีเรื่องอัศจรรย์เกิดขึ้น
ผู้คุมคุกเห็นว่าคุณพ่อวาเลนไทน์เป็นผู้มีความรู้
เลยขอให้คุณพ่อวาเลนไทน์ช่วยอบรมสั่งสอนลูกสาวของเขา ซึ่งมีชื่อว่าจูเลีย
เด็กหญิงคนนี้ตาบอดมาแต่กำเนิด เธอเป็นคนสวยและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
คุณพ่อวาเลนไทน์นำประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิ์โรมมาอ่านให้เธอฟัง
ท่านสอนวิชาความรู้ต่างๆให้กับเธอ และยังสอนให้เธอรู้จักพระเจ้าอีกด้วย
จูเลียรู้จักโลกผ่านทางดวงตาของคุณพ่อ และไว้วางใจในปรีชาญาณที่คุณพ่อมี และเธอพบความบรรเทาใจในบุคลิกภาพสุขุมนุ่มลึกที่เปี่ยมด้วยพลังของคุณพ่อ
คุณพ่อทำให้เธอเชื่อมั่นว่า
วันหนึ่งขณะที่ทั้งคู่นั่งอยู่ด้วยกัน
ร่วมใจกันภาวนา ทันใดนั้นเกิดแสงสว่างวาบในที่คุมขัง จูเลียร้องเสียงดังว่า "คุณพ่อวาเลนไทน์คะ ฉันมองเห็นแล้ว ฉันมองเห็นแล้ว!" "ขอบคุณพระเจ้า" คุณพ่อวาเลนไทน์เปล่งเสียงออกมา
แล้วท่านก็คุกเข่าลงภาวนา ในเย็นวันก่อนที่ท่านจะถูกประหาร
ท่านเขียนข้อความถึงจูเลีย จูงใจเธอให้ดำเนินชีวิตชิดสนิทกับพระเจ้า
ลงชื่อท้ายข้อความว่า "จากวาเลนไทน์ของเธอ"
วันต่อมาท่านก็ถูกประหารชีวิต
เมื่อข่าวการถูกตัดศีรษะของท่านแพร่หลายออกไป
เหล่าคู่สมรสที่ท่านเป็นผู้จัดพิธีให้ และบรรดาผู้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากท่าน
ต่างก็ภาวนาวอนขอท่าน หลายคนไปเยี่ยมสถานที่ฝังศพของท่านเพื่อภาวนา และ
นำดอกไม้ไปวาง ทีละเล็กทีละน้อย วันที่ 14 กุมภาพันธ์
จึงกลายเป็นวันครอบครัว และ คู่รัก
พระศาสนจักรเห็นว่าท่านเป็นผู้อุทิศตนรับใช้เพื่อนพี่น้องอย่างไม่กลัวภัยอันตราย
และความศรัทธาในการวอนขอผ่านทางคุณพ่อวาเลนไทน์แพร่หลายมากขึ้น ในที่สุด
คุณพ่อวาเลนไทน์ได้รับการประกาศสถาปนาเป็นนักบุญในปี ค.ศ.496
โดยพระสันตะปาปา เจลาซีอุส
หลังจากนั้นเป็นต้นมา วันที่ 14 กุมภาพันธ์
กลายเป็นวันฉลองที่แพร่หลายไปทั่วโลก นักบุญวาเลนไทน์เป็นองค์อุปถัมภ์ของ คู่หมั้น
คู่รัก คนเลี้ยงผึ้ง นักเดินทาง และเยาวชน
พ่อสุพจน์
.....................................................................................................................................
อาทิตย์ที่ 19 ก.พ60
"ตาต่อตาฟันต่อฟัน" นี่ แต่รู้กันไหม มีที่มาย้อนไป5000-3000ปี ก่อนคริสตกาลโน่น ในสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบี
เป็นคิงที่ป๊อปปูล่าที่สุดในยุคนั้นของชาวบาบิโลเนีย ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่
เมโสโปเตเมีย (ก็แถวๆอียีปปัจจุบันนี้ล่ะ) คําว่า "ตาต่อตาฟันต่อฟัน"
มีที่มาจากประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี
โดยยึดหลักการแก้แค้นตอบแทนที่รุนแรงมาก มาดูกันว่าโหดแค่ไหน
นี่คือตัวอย่างข้อความที่เขียนไว้ในกฎหมาย
1.
ถ้าบุคคลใดทําลายดวงตาผู้อื่น
ดวงตาของบุคคลนั้นต้องถูกทําลายเช่นกัน
2.
บุคคลใดทําให้ลูกสาวผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ลูกสาวของตนก็ต้องถูกลงโทษถึงแก่ความตายเช่นกัน
3.ถ้าบ้านพังลงมาทับเจ้าของบ้านตาย คนสร้างบ้านต้องรับผิดชอบด้วยชีวิต
แล้วอีกอย่างคือ ประมวลกฎหมายนี้ ไม่มีโทษจําคุก มีแต่โทษตายสถานเดียว ไปปล้นเค้ามาต้องตาย ไปลักของเค้ามา ต้องตาย
ไปกระตุกสร้อยมา ตายอย่างเดียว นอกจากนี้ ไอ้ลูกทรพี ทั้งหลายที่เกิดในสมัยนั้น
ทุบตีพ่อแม่ ทําร้ายพ่อแม่ มือข้างไหนทํา ฉับ โทษคือตัดมือแต่ที่ว่า แหม่งๆ คือวิธี
พิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ ให้เอาเมียไปโยนลงนํ้า ถ้าลอยถือว่าบริสุทธิ์
ถ้าจมถือว่ามีความผิด สมัยนั้น ตายสถานเดียว คือ จม เป็นไงสมกับ
คําว่าตาต่อตาฟันต่อฟันมะ เห็นอย่างงี้แล้วนึกถึง โทษ ของ กฎหมายไทย
รู้สึกว่าบางอย่าง โทษจะเบาไปยังไงไม่รู้
ใน “สมัยสุดท้าย” คนส่วนใหญ่ไม่มีความเห็นอกเห็นใจกัน
หลายคนโหดร้าย ชอบความรุนแรง และไม่รักเพื่อนบ้าน (2ทธ.3:1-3) ตอนที่พายุเฮอร์ริเคนแซนดีพัดถล่มนครนิวยอร์กในเดือนตุลาคม 2012 ในตอนนั้น หลายคนไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีเครื่องทำความร้อนและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ
ที่แย่ไปกว่านั้นมีการขโมยของของผู้ประสบภัยที่ทนทุกข์อยู่แล้ว แต่ผู้ที่เป็นพยานของพระ
แตกต่างอย่างสิ้นเชิง พวกเขาแสดงความรักต่อเพื่อนบ้านจริงๆ
โดยจัดให้มีการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์พี่น้องและคนอื่น ๆ นอกจากนี้
ยังมีวิธีอื่นอีกไหมที่จะแสดงว่าเรารักเพื่อนบ้านรักศัตรูของคุณ พระเจ้าสอนพวกเรามาตลอด
ว่าให้รักศัตรู ในสมัยพระเยซู บางคนสอนว่าให้เกลียดศัตรู แต่พระเยซูแนะนำว่า “จงรักศัตรูของเจ้าต่อ ๆ ไปและอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงเจ้าต่อๆ ไป”
(มธ.5:43-45) เปาโลก็แนะนำคล้าย ๆ กันว่า “ถ้าศัตรูของท่านหิว จงให้อาหารเขากิน ถ้าเขากระหาย จงให้อะไรเขาดื่ม”
(โรม12:20; สุภา.25:21)ในสมัยชาติอิสราเอล
พระยาเวห์ทรงประทานกฎหมายแก่พวกเขา ว่าให้ช่วยเหลือศัตรูและช่วยแม้แต่สัตว์ของศัตรูด้วย
(ฉธบ.22:1-4) เมื่อทำตามคำแนะนำนี้
บางคนที่เคยเกลียดกันอาจกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน นอกจากนั้น
การแสดงความรักต่อศัตรูอาจทำให้เขาประทับใจและเข้ามารับใช้พระเจ้าเที่ยงแท้แต่เพียงองค์เดียว
“จงพยายามมีสันติสุขกับคนทั้งปวง” (ฮีบรู12:14) เราคงมีสันติสุขกับคนทั้งปวงไม่ได้ถ้าเรายังมีปัญหากับพี่น้องของเราอยู่
พระเยซูบอกว่า “ฉะนั้น
ถ้าเจ้านำของถวายมายังแท่นบูชาและนึกขึ้นได้ว่าพี่น้องของเจ้ามีเรื่องขุ่นเคืองเจ้า
จงวางของถวายไว้หน้าแท่นบูชาและไปคืนดีกับพี่น้องก่อน
แล้วค่อยกลับมาถวายของของเจ้า” (มธ. 5:23, 24) ถ้าเรารักพี่น้องของเราจริง
เมื่อเรามีปัญหากับเขาเราควรพยายามปรับความเข้าใจกับเขาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถ้าเราทำอย่างนั้น เรามั่นใจว่าพระเจ้าจะทรงพอพระทัยเราอย่างแน่นอน
พ่อพงษ์เกษม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น