วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สารวัดวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2015

พี่น้องที่รัก
            อย่าลืมว่าตลอดเดือนตุลาคมนี้ เป็นช่วงเวลาพิเศษที่เราคริสตชนจะร่วมใจกันสวดสายประคำเป็นพิเศษ ดังนั้นพ่อจึงอยากย้ำเตือนกับพี่น้องอีกครั้งเพื่อจะไม่ลืมการสวดสายประคำ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เคยกล่าวกับพี่น้องสัตบุรุษที่มาร่วมสวดลูกประคำกับพระองค์ที่มหาวิหารเซนต์แมรี่เมเจอร์ ที่กรุงโรมว่า "วันนี้ เรามาร่วมใจกันยืนยันว่า การสวดลูกประคำนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงกิจศรัทธาที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณเท่านั้น แต่การสวดลูกประคำเป็นประสบการณ์แห่งความสดชื่นในหัวใจ ที่แม้แต่เยาวชนคนรุ่นใหม่ในยุคนี้สามารถเข้าถึงประสบการณ์ของความศรัทธาที่มีต่อพระเยซู และแม่พระได้ เพราะการสวดภาวนาแบบนี้ช่วยเราให้ยึดมั่นพระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวิต เหมือนอย่างที่พระนางมารีย์ได้เคยทำเช่นนี้เสมอมา ในยามที่เราสวดลูกประคำ เรายังมีโอกาสได้รำลึกถึงช่วงเวลาสำคัญๆที่มีความหมาย ของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นอีกด้วย เรามีโอกาสได้พิจารณาถึงภารกิจที่พระเยซูเจ้าได้ทรงกระทำ เหมือนอย่างที่พระนางมารีย์มีหัวใจที่ยึดมั่นในพระธรรมล้ำลึกของพระเยซูพระบุตรของพระนางนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ พระเยซูคริสต์จึงมาเป็นศูนย์กลางของชีวิตของเรา ของยุคของเรา และของสถานที่ที่เราอาศัยอยู่  โดยอาศัยการรำพึงถึงพระธรรมล้ำลึกศักดิ์สิทธิ์ ในภาคชื่นชมยินดี ภาคแสงสว่าง ภาคมหาทรมาน และ ภาคสิริมงคล
            ขอพระนางมารีย์ช่วยเราให้เปิดใจรับพระพรของพระเจ้าที่จะหลั่งไหลมาสู่เราโดยผ่านทางการรำพึงถึงพระธรรมล้ำลึกของพระเยซู เพื่อว่าเราแต่ละคนจะสามารถเป็นทางผ่านแห่งพระพรเหล่านั้นไปสู่สังคมในวงกว้าง โดยการที่เราจะเริ่มต้นสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีในแต่ละวันกับคนรอบข้าง และพระพรนั้นจะหลั่งไหลไปสู่บุคคลรอบข้างเพื่อชำระเขาเหล่านั้นให้บริสุทธิ์และปกป้องเขาจากความชั่วร้าย  และเป็นจุดเริ่มต้นที่พี่น้องรอบข้างเราจะได้สัมผัสถึงความรักของพระเจ้า การสวดลูกประคำอย่างตั้งใจจะช่วยให้เรามีสันติและพบกับการคืนดี การสวดลูกประคำทำให้เราได้รับพลังสูงสุดแห่งการบำบัดรักษาในพระนามของพระเยซู ที่เราเปล่งพระนามของพระองค์ด้วยความเชื่อและความรัก ในทุกๆบทวันทามารีย์"
            พ่อหวังว่า ตุลาคมนี้คงจะเป็นเดือนที่เราจะสวดสายประคำกันเป็นพิเศษทั่วหน้ากันนะครับ และเพื่อเป็นไปตามโครงการ"คาทอลิกไทย พร้อมเพรียง ไม่สิ้นเสียงสายประคำ" เราจะมีการตั้งกล่องรวบรวมจำนวนสายประคำที่เราสวดได้ตลอดเดือนนี้ เพื่อส่งไปทำสถิติที่ส่วนกลางด้วยครับ ขอเชิญพี่น้องที่สวดสายประคำกรอกชื่อและนามสกุล พร้อมทั้งระบุจำนวนสายประคำที่สวดไปตลอดเดือนว่าสวดไปจำนวนกี่สาย และหย่อนกระดาษบันทึกนั้นลงในกล่องรวบรวมด้วยครับ นอกจากนี้ขอเชิญชวนพี่น้องทุกท่านมาร่วมแห่แม่พระในวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พิธีมิสซาเวลา 17.30 . หลังพิธีแห่พระรูปแม่พระรอบวัดเซนต์หลุยส์ของเราครับ

คพ.สุพจน์
...................................................................................

พี่น้องที่รัก
นางซาโลเม ซึ่งเป็น มารดาของบุตรเศเบดีเข้ามาเฝ้าพระองค์พร้อมกับบุตร นางกราบลงทูลขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์” (มธ 20:20-23)มัทธิวคงเห็นว่าการทูลขอเช่นนี้จะทำให้ภาพพจน์ของอัครสาวกเสีย อีกทั้งยากอบและยอห์นจะพลอยเสียชื่อเสียงไปด้วย จึงยกให้มารดาเป็นผู้มีความทะเยอทะยานและเป็นผู้ทูลขอตำแหน่งให้แก่บุตรของตนแทนมาระโกน่าจะบันทึกได้ถูกต้องมากกว่ามัทธิว เพราะว่าขณะนั้นบรรดาอัครสาวกไม่ใช่นักบุญ  พวกเขาเป็นมนุษย์ธรรมดา ๆ เหมือนกับเราและอาศัยมนุษย์ธรรมดาๆ แบบเรานี้เอง ที่พระเยซูเจ้าทรงเรียกและเลือกให้มาเปลี่ยนโลกใบนี้ ให้เป็นพระอาณาจักรของพระองค์ !เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง จากความทะเยอทะยานความทะเยอทะยานดังกล่าวเกิดจากความรู้สึกว่าเป็น คนใกล้ชิดของพระเยซูเจ้า เพราะมีหลายครั้งที่พระวรสารระบุว่าพระองค์ทรงเรียกเปโตร ยากอบและยอห์น ให้ติดตามพระองค์ใกล้ชิดมากกว่าอัครสาวกท่านอื่น คราวที่พระองค์ทรงตรัสเรียกพวกเขา เขาทั้งสองคนก็ละทิ้งเศเบดีบิดาของตนไว้ในเรือกับลูกจ้าง แล้วตามพระองค์ไปทันที” (มก 1:20)เมื่อคิดว่ามีฐานะร่ำรวยกว่า เลยพลอยทำให้ทั้งสองเกิดความทะเยอทะยานที่จะมีตำแหน่งดีกว่าตามไปด้วย ทั้งสองไม่เข้าใจพระเยซูเจ้าเอาเสียเลย  ขอตำแหน่งต้องถือว่าเลวร้ายมากแล้ว แต่ทั้งคู่ดันไปขอตำแหน่งทันทีที่พระองค์ทรงทำนายถึงพระทรมานและการสิ้นพระชนม์เป็นครั้งที่3แล้ว (มก 10:32-34)
สิ่งที่พระองค์พร่ำสอนมาเป็นเวลานาน มิได้ช่วยให้พวกเขาเข้าใจพระองค์ดีขึ้นแต่ประการใดเลย ต้องรอจนเห็นพระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้วหรือ พวกเขาจึงเข้าใจพระองค์จริงๆ แม้จะมีข้อบกพร่องและหลงผิด แต่ทั้งคู่ยังมั่นคงและเชื่อมั่นว่าพระองค์ผู้ซึ่งขัดแย้งและเป็นศัตรูกับบรรดาผู้นำทางศาสนาของชาวยิวอย่างรุนแรง  ซ้ำร้ายกำลังมุ่งหน้าไปสู่ความตายบนไม้กางเขนอีก ไม่ว่าสถานการณ์ของพระเยซูเจ้าและของบรรดาอัครสาวกจะเลวร้ายลงสักเพียงใด  จิตใจของเขาทั้งสองก็ไม่เคยหวั่นไหวหรือเปลี่ยนแปลง ท่านจะดื่มถ้วยซึ่งเราจะดื่มได้ไหม หรือรับการล้างที่เราจะรับได้หรือไม่ ถ้วยเป็นคำเปรียบเทียบหมายถึง ชีวิตและประสบการณ์ เพื่อบรรยายถึงชีวิตและประสบการณ์แห่งความสุขที่พระเจ้าทรงโปรดประทานแก่มนุษย์ด้วยการไถ่บาป ประกาศกอิสยาห์กล่าวถึงความหายนะที่กำลังมาเยือนชาวอิสราเอลว่า พวกเขากำลังดื่ม ถ้วยแห่งพระพิโรธของพระเจ้า” (อสย 51:17) ถ้วยจึงหมายถึง ประสบการณ์แห่งความหายนะที่พวกเขากำลังจะได้รับจากพระเจ้า การล้าง”  ตรงกับภาษากรีกbaptizein (บัพติเซน) หมายถึง จุ่ม, จมลง”  โดยทั่วไปใช้ในความหมาย จุ่ม หรือจมลงในประสบการณ์ใดประสบการณ์หนึ่งพวกท่านพร้อมจะทนและฟันฝ่าประสบการณ์อันเลวร้ายที่เราจะต้องประสบหรือไม่  พวกท่านพร้อมจะจมลงในความเกลียดชัง ความเจ็บปวด และความตายเหมือนเราหรือไม่ ไม่มีกางเขน ก็ไม่มีความยิ่งใหญ่ ตลอดทั้งชีวิตของพระองค์คือการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาเจ้าเท่านั้น มาตรฐานของโลก ผู้เป็นใหญ่วัดกันที่ อำนาจ” แต่มาตรฐานของพระเยซูเจ้าคือ ผู้เป็นใหญ่ให้วัดกันที่ การรับใช้ผู้ที่เป็นใหญ่จริงคือผู้ที่สามารถลดตัวเองไปรับใช้ผู้อื่น ไม่ใช่ลดผู้อื่นให้มารับใช้ตัวเอง คนใหญ่จริงจะไม่ถามว่ามีบริการอะไรบ้าง แต่จะถามว่าตนสามารถช่วยอะไรได้บ้าง และรับใช้ได้ทุกอย่างโดยไม่ปริปาก


คุณพ่อพงษ์เกษม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น