วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

สารวัดวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2015

พี่น้องที่รัก
                สัปดาห์ที่แล้วพ่อได้กล่าวถึงการหาเหตุผลเพิ่มแรงจูงใจเพื่อจะมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอ เหตุผลประการแรกที่กล่าวไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ “ใครเล่าจะอยากตกนรก?” สำหรับเหตุผลประการต่อไปที่อยากจะกล่าวถึงคือ  เมื่อได้อ่านเนื้อความของข้อเขียนในสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ท่านกำลังกระตุ้นตัวเองว่า ฉันอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง จึงอยากจะเชิญชวนพี่น้องลองมองหาข้อดีของการมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณเป็นประจำทุกสัปดาห์ดูบ้าง
            คำส่งท้ายที่พระสงฆ์กล่าวกับสัตบุรุษก่อนพิธีมิสซาจบก็คือ “พิธีบูชาขอบพระคุณจบแล้ว จงไป....”  ภาษาละตินใช้คำว่า “Ite missa est!”  ซึ่งเป็นการกล่าวเตือนสติเราว่าพิธีนมัสการพระเจ้าจบสิ้นแล้วบัดนี้ ให้เราได้หาหนทางเปลี่ยนแปลงชีวิตในภาคปฏิบัติให้เหมาะสมกับคำสอนของพระเจ้าเถิด มีบางคนเคยกล่าวหาคริสตศาสนาว่าไม่ได้เน้นให้ศาสนิกชนออกไปเปลี่ยนแปลงโลกเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ดังนั้นคำกล่าวส่งท้ายของพระสงฆ์ในช่วงท้ายพิธีมิสซาจึงเป็นการตอกย้ำว่า คำกล่าวหานั้นเป็นคำกล่าวหาที่โกหก ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม เรายังมั่นใจว่าคริสตชนตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันได้พยายามอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น ผ่านทางพระพรมากมายที่พระเจ้าโปรดประทานให้กับเราทุกคนที่มาร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ทุกสัปดาห์
            คำภาษาละตินที่ว่า “Ite missa est!” มีความหมายว่า “มิสซาจบแล้ว ท่านถูกส่งไป” คำว่า “Missa” หรือ “มิสซา” มาจากคำว่า “Missio” เป็นรากศัพท์ของคำภาษาอังกฤษที่ว่า “Mission” หมายถึง “ภารกิจ/พันธกิจ” รวมความแล้วหมายถึง เราได้รับการส่งออกไปทำพันธกิจในโลก เพื่อให้พระพรของศีลมหาสนิทที่เราได้รับมาบังเกิดผลในสังคมโลก
            ข้อคิดสำคัญตรงนี้คือ การรักพระเจ้า และ  การรักเพื่อนมนุษย์ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และต้องไม่ตัดขาดออกจากกัน นักบุญยอห์นกล่าวสอนเราว่า “ถ้าใครกล่าวว่า ฉันรักพระเจ้า แต่ เกลียดเพื่อนพี่น้อง เขาก็กล่าวโกหก เพราะใครก็ตาม ที่ไม่รักเพื่อนพี่น้องที่เขามองเห็นได้ เขาจะรักพระเจ้าที่เขามองไม่เห็น ได้อย่างไร” (1ยน. 4:20) ดังนั้นเมื่อเรารำลึกถึงความจริงประการนี้ เราจะเห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่าง การนมัสการพระเจ้า “ด้วยจิตใจและความจริง” (ยน.4:24) กับ การเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีงามยิ่งขึ้นนั่นเอง
            โดยสรุป เหตุผลประการนี้คือ เราได้รับการส่งไปเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
            ยังมีเหตุผลดี ๆ อีกหลายประการที่จูงใจเราให้มาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในทุกวันอาทิตย์ ที่พ่ออยากจะกล่าวถึงอีกหลายประการนะครับ ไว้คราวต่อ ๆ ไปจะมาคุยกันต่อนะครับ

คพ.สุพจน์
.................................................................................................................

ข้างบัลลังก์นักบุญหลุยส์ : เราก็คนเหมือนเหมือนกัน

แค่คิดว่าที่ผ่านมาชีวิตเรา
เคยพลาด เคยผิดมามากเท่าไหร่แล้ว

ไยเราจึงสมควรได้โอกาสจากพระ...ให้ได้หายใจต่อ

ความผิดของคนอื่นที่ปฏิบัติต่อเรา
ก็ดูจะธรรมดาไปเลยก็ดูจะเบาบางไปเลย
ก็ดูจะไม่หนักหนาอะไรเลย ก็ดูจะไม่เป็นอะไรเลย

แต่เสียดาย...ที่เรามักมองข้ามจุดนั้นไป
เพราะเมื่อเราลืมตาอ้าปากได้
เพราะเมื่อเรากลับขึ้นมาดีได้
เพราะเมื่อเราผ่านจุดนั้นมาได้...เรามักหลงลืมมันไป

และบ่อยบ่อย เป็นเราเองที่กลับใจคับแคบ
เหยียบหลัง เหยียบบ่า เหยียบหัว
คนที่เขาพลาด คนที่เขาผิดขึ้นมายืนประหนึ่งว่าข้าดีที่สุดในโลก

แค่ลองคิดเล่นเล่นว่าถ้าวันนั้น วันที่เราผิด วันที่เราพลาด
เราไม่ได้รับโอกาส ไม่ได้รับอากาศวันนี้ คนอย่างเราจะเป็นเช่นไร?

ถ้าเราได้สำนึกบ้างว่า...เขาก็เป็นเหมือนเรา
เขาก็คล้ายกับเรา ในวันเก่าเก่าที่เราเคยล้มลง

บางที เราคงอภัยได้ง่ายขึ้น
บางที เราคงไม่เหยียบเขา_กดเขาจนจม
บางที เราคงเป็นเหมือนพระง่ายขึ้น

Shutter Lover

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

สารวัดวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2015

พี่น้องที่รัก
                วันนี้วันอาทิตย์อีกแล้ว! พี่น้องคงทราบความหมายดีใช่ไหม? วันนี้ต้องไปวัด!!!
                สำหรับบางคน การไปวัดวันอาทิตย์เป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ คนเหล่านี้คิดว่าความจริงวันอาทิตย์สมควรที่จะเป็นวันพักผ่อนสบาย ๆ ชิ วๆ ของเรา ดังนั้นเมื่อถูกบังคับให้ต้องไปวัด เลยรู้สึกไม่ค่อยจะเต็มใจสักเท่าไหร่ที่จะมา หรือ มาแบบเสียไม่ได้
                นักบุญพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่สอง สอนว่า วันอาทิตย์แต่ละอาทิตย์นั้น ถือเป็นการฉลองปัสกา ทุกสัปดาห์ เป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระเยซูคริสต์ที่มีเหนือบาปและความตาย  ซึ่งเป็นการบรรลุถึงความบริบูรณ์ในพระองค์ผู้ทรงเป็นสิ่งสร้างแรก และเป็นการเริ่มยุคของสิ่งสร้างใหม่ (2คร.5:17) วันอาทิตย์เป็นวันที่เราถวายนมัสการขอบพระคุณพระ เพื่อหวนระลึกถึงวันเริ่มแรกของโลกและยังมองไปข้างหน้าด้วยความหวังอย่างเต็มเปี่ยม ไปจนถึงวันสุดท้ายที่พระเยซูจะเสด็จกลับมาในพระสิริรุ่งโรจน์ และสรรพสิ่งจะได้รับการเนรมิตขึ้นใหม่
                ถ้าเรายังไม่รู้สึกว่าวันอาทิตย์เป็นวันที่เราสมควรจะอุทิศเวลาเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างเรากับพระเจ้าแล้วละก็ ลองมาหาเหตุผลที่ช่วยเตือนสติเราให้เห็นความสำคัญของการมาวัดวันอาทิตย์เพิ่มเติมขึ้นสักหน่อยเถิด
                เหตุผลประการแรก "ใครเล่าจะอยากตกนรก?”
                เหตุผลประการแรกนี้เป็นเหตุผลง่าย ๆ ที่ช่วยผลักดันให้เรามีความสม่ำเสมอในการมาวัดวันอาทิตย์ เพราะโดยพื้นฐานที่สุด ทุกคนที่มีความเชื่อในองค์พระคริสตเจ้า ไม่ว่าเขาจะเป็นคนศรัทธามาก หรือ แม้แต่คนที่รู้ตัวเองว่าเป็นคนบาปหนาก็ตาม คงจะต้องหนาวเข้าถึงกระดูกเมื่อได้อ่านถ้อยคำของพระเยซูที่ว่า "จงเข้าทางประตูแคบ เพราะประตูกว้างและทางที่นำไปสู่หายนะนั้น กว้างขวาง คนที่เข้าทางนี้มีจำนวนมาก ...มิใช่ทุกคนจะได้เข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ เมื่อนั้นเราจะกล่าวแก่เขาว่า เราไม่เคยรู้จักท่านทั้งหลายเลย ท่านผู้กระทำความชั่ว จงไปให้พ้นหน้าเรา" (มธ. 7:13-23)
                ลองพิจารณาดูสิครับ คงไม่มีใครอยากได้ยินคำว่า "เราไม่เคยรู้จักท่านทั้งหลายเลย" เมื่อเราต้องพบกับพระเยซูหน้าต่อหน้าในฐานะเป็นผู้พิพากษาที่ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในวาระสุดท้ายของชีวิต เพียงแค่คิดแค่นี้ ก็อาจทำให้เรานอนไม่หลับทั้งคืนแล้ว แต่ค่อยยังชั่วหน่อยที่เราก็ทราบเช่นกันว่า พระองค์รักเรา และอยากให้เราทุกคนได้รับความรอดพ้น แต่กระนั้น พระเจ้าทรงประทานอิสรภาพให้กับเราทุกคนที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองในเรื่องนี้ คำสอนคริสตังมีคำอธิบายไว้ว่า "เราไม่สามารถเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้าได้ ถ้าเราไม่เลือกด้วยใจอิสระที่จะรักพระองค์  แต่เราก็ไม่สามารถรักพระเจ้าได้ถ้าเราทำบาปหนัก การตายในบาปหนัก โดยปราศจากการเป็นทุกข์เสียใจในบาปที่ได้กระทำ และน้อมรับพระเมตตารักของพระเจ้า หมายความว่าเขาจะถูกตัดขาดจากพระองค์ตลอดไป และนั่นเป็นผลของ การตัดสินใจเลือกด้วยใจอิสระของเราเอง ความหมายก็คือ เลือกที่จะตกนรก
                คงไม่มีใครหรอกที่อยากตายในบาปหนัก แต่อย่าลืมว่าการขาดวัดวันอาทิตย์โดยไม่มีเหตุผลอันควร เป็นบาปหนัก!!!
                กฏหมายของพระศาสนจักรมีระบุบไว้ในมาตรา 1247 ว่า  ในทุกวันอาทิตย์ คริสตชนมีหน้าที่ที่จะต้องไปร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ
                พี่น้องครับ เหตุผลประการแรกนี้ เป็นเหตุผลที่ซื่อๆง่ายๆ นั่นคือ การขาดวัดวันอาทิตย์โดยไม่มีเหตุอันควร เป็นบาปหนัก และถ้าเราปล่อยมลทินบาปนี้ไว้โดยไม่เป็นทุกข์เสียใจ และไปรับศีลอภัยบาป จะเป็นผลให้วิญญาณของเราต้องตกนรก ใครอยากตกนรกบ้าง???
                ประโยชน์ของการมาวัดวันอาทิตย์ นอกจากช่วยเราให้ไม่ตกในบาปหนักแล้ว ยังช่วยลบล้างมลทินบาปเบาต่างๆของเรา โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปรับศีลอภัยบาปอีกด้วย นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณให้เราสามารถรู้เท่าทันกลลวงของปีศาจได้อีกด้วย
                สัปดาห์หน้า เราจะมากล่าวถึงเหตุผลลำดับถัด ๆ ไปนะครับ
พ่อสุพจน์
................................................

ข้างบัลลังก์นักบุญหลุยส์ : โนวบอดี้


บางที เราก็อยากเป็น ใครบางคน (somebody)
ของ ใครบางคน (someone)
หรือ บางที ก็อยากเป็น ใครบางคน
ของ ใครอีกหลายหลายคน (some people)

ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ
เป็นส่วนหนึ่งของความต้องการแบบมนุษย์
ที่เราอยากมีคุณค่า มีความสำคัญ
หรืออยากให้คนเห็นคุณค่า หรือความสำคัญของเรา

แต่เอาเข้าจริงจริง ชีวิตก็ไม่เป็นอย่างใจต้องการเสมอ
เพราะเมื่อต้องอยู่กับผู้คน ในสังคมจริงจริง
เพราะเมื่อต้องอยู่กับผู้คน ในชีวิตจริงจริง

หลายครั้งหลายหน เราก็รู้สึกและสัมผัสได้เองว่า
เราไม่ได้มีคุณค่าขนาดนั้น เราก็ไม่ได้สำคัญมากขนาดนั้น
และบางทีเราไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจาก NOBODY สำหรับใครหลายคน

แต่ถึงจะพบจะเจอแบบนั้นบ่อยบ่อย แต่ถึงจะรู้สึกแบบนั้นบ่อยบ่อย
เอาเข้าจริงจริง การที่ไม่มีใครรู้ว่า เรามีคุณค่าหรือมีความสำคัญอย่างไร
ก็ไม่ใช่ เรื่องหนักหนาสาหัสอะไรในชีวิต

เว้นแต่ว่า มันมีผลมากจนทำให้แม้แต่เราเอง
ก็มองข้ามความมีคุณค่า และความสำคัญของตัวเองไปด้วย
แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่หนักหนาอะไรอีกเช่นกัน

คุณอาจสงสัยว่า แล้วอะไรคือ ความหนักหนาสาหัสของเรื่องนี้

อันที่จริงมันไม่มีหรอก ที่ผมคิดและบอกอย่างนั้น คงเป็นเพราะว่า
สำหรับพระเจ้า คุณเป็น ใครบางคน ของพระองค์เสมอ


Shutter Lover

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

สารวัดวันอาทิตย์ที่ 13 กันยนยน 2015

พี่น้องที่รัก
            ตามที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงมีพระสมณโองการประกาศเกี่ยวกับปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรม (YEAR OF MERCY) เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.. 2015 และ พระองค์ได้มีสมณลิขิต ประกาศเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2015 ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประการ พ่อจึงขอนำสิ่งเหล่านั้นมาให้พี่น้องได้รับรู้ และ ทำความเข้าใจเพิ่มเติม ตามประกาศของสำนักเลขาธิการสังฆมณฑล

พ่อสุพจน์

คําชี้แจง เรื่องอํานาจการอภัยโทษบาปการทําแทง
------------------------------------------------------------------------------------------------
ตามที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  ทรงมีพระสมณโองการประกาศเกี่ยวกับปศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรม (YEAR OF MERCY) เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2015 และ พระองคไดมีสมณลิขิต ประกาศเพิ่มเติม  เมื่อวันที่ 1 กันายน 2015 ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้
สมเด็จพระสันตะปาปา  ฟรังซิส  ทรงออกจดหมายพิเศษพรอมย้ำ  ตลอดปศักดิ์สิทธิ์ แหงเมตตาธรรม  ใหสงฆคาทอลิกทุกองค มีอํานาจในการอภัยโทษบาปใหกับคริสตชนคาทอลิกที่ทําแทงและมีสวนรวมกับการทําแทง  โดยผูมารับศีลอภัยบาปตองเปนทุกขถึงบาปและสํานึกผิดอยางจริงใจ  ประการตอมาทรงยืนยันวาพระคุณการุณยไมไดรับกันแคมหาวิหารเอกทั้งสี่ของกรุงโรม  หรือที่ อาสนวิหารของสังฆมณฑลเทานั้น แตยังสามารถรับไดใน  "เรือนจําผูตองขังทั่วโลก"  และประการ สุดทายทรงอนุญาตให  "สงฆของสมาคมนักบุญปโอ  ที่  10  (กลุมเลอแฟบวร)" มีอํานาจอยางถูกตองในการโปรดศีลอภัยบาปไดตลอดปศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรมดวย 
สมเด็จพระสันตะปาปา  ฟรังซิส  ทรงสงจดหมายถึงพระอัครสังฆราช  ริโน  ฟสิเชลลา สมณมนตรีแหงสมณสภาเพื่อการประกาศพระวรสารใหม และยังเปนหัวหนาของการจัดงานปศักดิ์สิทธิ์ แหงเมตตาธรรม  โดยจดหมายดังกลาว  เปนการแจงถึงประเด็นสําคัญตางๆ  ที่จะถูกนํามาใชในป ศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรม ซึ่งรายละเอียดตางๆ มีดังตอไปนี้
1) สงฆคาทอลิกทุกคนมีอํานาจในการ  "อภัยโทษบาปที่เกี่ยวกับการทําแทง" ในปศักดิ์สิทธิ์แหง เมตตาธรรม
 - พระสันตะปาปาย้ำวา  "การใหอภัยโทษของพระเจาไมสามารถถูกปฏิเสธใหกับคนที่สํานึกผิดและ เปนทุกขถึงบาป เฉพาะอยางยิ่งคนที่เขาไปหาศีลอภัยบาปดวยหัวใจที่เปยมดวยความจริงใจอยางแทจริง ทั้งนี้ เพื่อวอนขอการคืนดีกับพระบิดา"
- ตามกฏหมายของพระศาสนจักร (มาตรา 1398) ผูใดที่ทําแทงและมีสวนรวมกับการทําแทง จนสําเร็จ  จะถูกขับออกจากพระศาสนจักรโดยอัตโนมัติ เขาเหลานี้จะไมไดรับการยกบาปจากสงฆที่โปรดศีลอภัยบาป  ผูที่จะยกบาปนี้ไดตองเปนพระสังฆราชหรือพระสงฆที่ไดรับมอบหมาย จากพระสังฆราชเทานั้น
 - แตเมื่อประกาศนี้ออกมา  พระสันตะปาปาทรงใหอํานาจแกสงฆคาทอลิกทุกคนในการยกโทษ บาปใหผูที่ทําแทงและเกี่ยวของกับการทําแทง  ภายใตเงื่อนไขวาเขาตองเปนทุกขถึงบาปและ สํานึกผิด
2) พระคุณการุณยไมไดรับกันแคมหาวิหารเอกทั้งสี่ของกรุงโรม หรือ ในพระแทนและอาสนวิหาร ของสังฆมณฑลตางๆ เทานั้น แตยังสามารถรับไดใน "เรือนจําผูตองขังทั่วโลกดวย" 
- พระสันตะปาปาตองการใหความสําคัญกับ "ผูตองขังทุกคน" พวกเขาสามารถรับพระคุณการุณย ไดภายในวัดนอยของเรือนจํา
- การจะไดรับพระคุณการุณย  ทุกคนจะตองจาริกสั้นๆ ไปยังประตูศักดิ์สิทธิ์ในสังฆมณฑลของ ตนดวย
3) การโปรดศีลอภัยบาปของสงฆในสังกัดกลุมสมาคมนักบุญปโอ  ที่ 10  (กลุมเลอแฟบวร)  ก็มี ผลถูกตองครบสมบูรณในปศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรม
- เพื่อเปนการสงเสริมใหเกิดการคืนดีอยางแทจริง  สมเด็จพระสันตะปาปา  ฟรังซิส  ทรงย้ำวา “ป ศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรม  จะไมมีการแบงแยกหรือกีดกันใครทั้งนั้น"  ดวยเหตุนี้  ใครที่รับศีล อภัยบาปจากสงฆของกลุมเลอแฟบวร ก็ถือวา ศีลอภัยบาปนั้นไดรับการโปรดบาปโดยสมบูรณ
- ตามปกติ  สงฆของกลุมเลอแฟบวร  ไมมีอํานาจในการโปรดศีลอภัยบาป  แตพระสันตะปาปา  ฟรังซิส ทรงอนุญาตเปนกรณีพิเศษตลอดปศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรม
(ที่มา : Pope Report)
จากคําประกาศดังกลาว อาจจะทําใหพี่นองคริสตชน บางคนตองการคําอธิบายใหชัดเจนและอาจจะมา ถามคุณพอก็เปนได จึงขอใหคุณพอไดอธิบายใหพวกเขาเขาใจอยางถูกตองดังนี้...
เนื่องดวยตั้งแต วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2015 ถึง วันอาทิตยที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 สมเด็จ พระสันตะปาปาทรงประกาศใหเปนปศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรม  (YEAR  OF  MERCY) และไดออกแนวปฏิบัติ ในเรื่องตางๆ ไปบางแลวดังที่ทราบ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2015 พระองคไดทรงประกาศแนวปฏิบัติเพิ่มเติมใน เรื่องบาปทําแทง การรับพระคุณการุณย การโปรดศีลอภัยบาปของพระสงฆสังกัดกลุมสมาคมปโอที่ 10 (กลุม เลอแฟบวร) 
ในเรื่องที่เกี่ยวกับบาปทําแทง อาจจะมีหลายคนคิดวาเปนการสงเสริมใหมีการทําแทงทางออมหรือเปลา ซึ่งเรื่องนี้ตองเขาใจวา
1. จากกฎหมายพระศาสนจักรมาตราที่  1398 ที่บอกวา  บุคคลใดที่จัดการใหมีการทําแทงโดยมี ผลสําเร็จตามมา  ตองโทษถูกตัดขาดจากพระศาสนจักรโดยอัตโนมัติ และโทษการถูกตัดขาดจาก พระศาสนจักรนี้ ถูกสงวนไวสําหรับพระสังฆราชของแตละสังฆมณฑลเทานั้น อํานาจของพระสังฆราชนี้ เปนอํานาจแหงอัครสาวกที่เปนเอกภาพภายใตประมุขสูงสุดหรือหัวหนาอัครสาวกคือพระสันตะปาปานั่นเอง  สวนพระสงฆฐานะผูรวมพันธกิจภายใตพระสังฆราชนั้นไมมีอํานาจนี้ดวยตัวเอง  นอกเสียจาก จะไดรับมอบอํานาจนี้มาจากพระสังฆราชเสียกอน
2. ดังนั้นกอนที่จะยกบาปการทําแทง (ทําลายชีวิตเด็กที่ไมมีโอกาสที่จะปองกันตัวเอง) ผูฟงแกบาปทุกคน จะตองยกโทษการถูกตัดขาดจากพระศาสนจักรเปนลําดับแรก แลวจึงยกบาปอื่นๆ ของพวกเขา
3. สมเด็จพระสันตะปาปาใชโอกาสปศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรมนี้  เพื่อชวยคนบาปใหสามารถสํานึกกลับ ใจคืนดีกับพระไดอยางเต็มที่  มิไดทรงยกเลิกกฎหมายพระศาสนจักรมาตราที่  1398  หรือบอกวา การทําแทงมิใชบาปสงวนสําหรับพระสังฆราชอีกตอไป  แตเปนเพียงพระองคทรงใชอํานาจที่พระองค ทรงมีเพื่อมอบใหพระสงฆคาทอลิกทุกองคในการยกโทษแกผูที่ทําบาปนี้ ตลอดปศักดิ์สิทธิ์แหงเมตตาธรรมนี้เทานั้น ซึ่งเริ่มตน ตั้งแต วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2015 ถึงวันอาทิตยที่ 20 พฤศจิกายน  ค.ศ. 2016 พูดงายๆ ก็คือ ลดขั้นตอนการยกโทษบาปนี้ ใหสะดวกขึ้นกับผูที่มีความสํานึกผิดและ ตองการจะกลับคืนดีกับพระเปนเจาและพระศาสนจักรอยางแทจริง
                                                                                    สํานักเลขาธิการอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
                                                                                                                4 กันยายน ค.ศ. 2015


หมายเหตุ ถาเห็นสมควรคุณพอสามารถทําสําเนาเอกสารนี้แจกใหพี่นองสัตบุรุษ เพื่อทําใหเกิดความเขาใจถึง เจตนารมณที่แทจริงของสมเด็จพระสันตะปาปาดวยก็จะเปนสิ่งที่ดี

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

สารวัดวันอาทิคย์ที่ 6 กันยายน 2015

พี่น้องที่รัก
                พ่อได้อ่านสารจากกลุ่มแบ่งปันการรำพึงพระคัมภีร์ ที่ส่งมาถึงพ่อ เห็นว่ามีข้อความที่น่าอ่าน และมีข้อคิดที่มีประโยชน์ต่อพี่น้อง พ่อขอคัดลอกนำมาให้พี่น้องอ่านอีกต่อหนึ่งครับ
            ลูกศิษย์กำลังศึกษาด้านเทววิทยากับอาจารย์ ถามอาจารย์ว่า "ผมจะพบพระเจ้าได้ที่ไหน? อย่างไร?” อาจารย์ก็บอกให้ลูกศิษย์นำน้ำนมมาให้หนึ่งถัง และนำไม้พายสำหรับกวนมาด้วย ลูกศิษย์ก็นำมาให้ อาจารย์เริ่มใช้ไม้พายกวนน้ำนมสด กวนไปสักครู่ก็ยกไม้พายขึ้นแล้วส่ายศีรษะพึมพำว่า ไม่เห็น ไม่มี...... ทำเช่นนี้อยู่นานหลายสิบครั้งจนกระทั่งลูกศิษย์ทนไม่ได้ถามอาจารย์ว่า อาจารย์ทำอะไรอยู่
            อาจารย์ตอบว่า “ฉันกำลังหาเนยจากน้ำนมนี้” ลูกศิษย์ก็รีบบอกอาจารย์ทันทีว่า “อาจารย์มันไม่มีเนยดอก เพื่อที่จะได้เนยจากน้ำนมถังนี้ ต้องกวนน้ำนมนี้เป็นชั่วโมงๆ และต้องกวนแรงๆ โดยตลอดอย่างไม่หยุดยั้งด้วย” ..... อาจารย์เมื่อได้ยินลูกศิษย์บอกเช่นนี้ก็เงยหน้าขึ้นมองดูลูกศิษย์ และยิ้ม ๆ ตอบว่า “นั่นแหละคือคำตอบของคำถามของเจ้า เพื่อที่จะพบพระเจ้า เจ้าก็จำต้องกวนชีวิตของเจ้าอย่างไม่หยุดหย่อนอย่างรุนแรงเช่นกัน” ...???!!!
            .....ลูกปลาวาฬ ถามแม่ปลาวาฬว่า  “คุณแม่ คุณแม่ มหาสมุทรอยู่ที่ไหนครับ” .....
            แม่ปลาวาฬตอบว่า   “ก็ที่นี่เอง เจ้าอยู่ในมหาสมุทรอยู่แล้ว ?!”
            ลูกปลาวาฬทำหน้าประหลาดใจ ถามอีกว่า   “ผมไม่เห็นมหาสมุทรเลย ผมเห็นแต่น้ำทะเล” ....?!

            คำถามของลูกศิษย์กับอาจารย์ที่ว่า “พระเจ้าอยู่ที่ไหน?” และที่ลูกปลาวาฬถามแม่ปลาวาฬว่า “มหาสมุทรอยู่ที่ไหน?” คงเป็นคำถามของเรามนุษย์ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 เช่นกัน พวกเราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า
            - เห็นป่าแต่ไม่เห็นต้นไม้ (see the forest but not the trees)
            - เห็นต้นไม้แต่ไม่เห็นป่า (see the trees but not the forest)
           
            ลูกศิษย์เห็นน้ำนมถังนั้น (the forest) แต่ไม่เห็นเนย (the trees)
            ลูกปลาวาฬเห็นน้ำทะเล (the trees) แต่ไม่เห็นมหาสมุทร (the forest)

            ชีวิตประจำวันของเราที่ถูกอิทธิพลแห่งโลกาภิวัฒน์ครอบงำอย่างรุนแรง ในโลกปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน เราทำหน้าที่ของเราอย่างรีบเร่ง อย่างขันแข็ง ติดต่อคนนั้น รับโทรศัพท์คนนี้ รับส่งอีเมล์ รับส่งโซเชียลมีเดีย เปิดตอบไลน์ ไล่ดูเฟซบุ๊ค อย่างไม่หยุดหย่อน ตามหาคนโน้น วิ่งไล่ตามคนไหน (ก็ไม่รู้) จนกระทั่งเหนื่อยหอบ หัวใจจะวาย เพื่อให้งานที่เรารับผิดชอบผ่านไปได้ ให้สำเร็จลุล่วงไป... แต่ท่ามกลางความวุ่นวาย ความยุ่งเหยิง ความสลับซับซ้อนของเหตุการณ์ ความยุ่งยากลำบากของชีวิต เรากลับไม่ได้ให้ความสนใจอย่างที่ควรแก่คนที่เราติดต่อ ที่เราพูดคุย ที่เราสัมผัสด้วย เรากลับไปมุ่งที่งาน...งาน... งานอย่างเดียว มุ่งให้งานเสร็จ ให้งานสำเร็จ
            เราเห็นแต่ป่า .... แต่ .... เราไม่เห็นต้นไม้.... เราเห็นน้ำนม แต่เราไม่เห็นเนย .... หมายถึงเราเห็นเฉพาะกิจการงาน แต่เราไม่เห็นพระเจ้าที่อยู่ในตัวบุคคล เพื่อนมนุษย์ ที่พบปะติดต่อด้วย

            บทความที่นำมานี้ยังเป็นเพียงครึ่งเดียวของประเด็นทั้งหมด แต่ก็ช่วยให้เราเข้าใจ และตาสว่างมากขึ้นมากทีเดียว "เอฟฟาทา" “จงเปิดเถิด" ขอพระเจ้า เปิดตาของเราให้มองเห็นพระองค์ ขอพระองค์เปิดหูของเราให้ได้ยินเสียงของพระองค์ ขอพระองค์เปิดปากของเรา เพื่อจะกล่าวถึงกิจการอันมหัศจรรย์ของพระองค์ด้วยเถิด
พ่อสุพจน์
.........................................................................................

ข้างบัลลังก์นักบุญหลุยส์ : น้ำ...ป่าวววว

แก้วดื่มน้ำใบนี้เป็นของ สสส.
ผมว่าเป็นแก้วชวนหิว
เรียบเรียบง่ายง่ายแต่สร้างสรรค์ดี

สกรีนกันคนละด้าน
แต่ถ้าวางซ้อนกันจนได้เหลี่ยมได้มุมที่ถูกต้อง
ก็จะเห็นและอ่านได้เป็นประโยคที่ว่า
"ควรดื่มน้ำเปล่า อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน"

ใครใครก็รู้ว่าดื่มน้ำดี การแพทย์หลายสูตรก็ยืนยัน
แต่ถึงกระนั้น เพื่อให้ได้ผลดีจริงจริง
ก็ยังต้องมีคำว่า อย่างน้อย”  คอยกำกับ

ชีวิตก็เช่นกัน...
หลายสิ่ง น้อยไปก็ไม่พอดี
หลายอย่าง มากไปก็เกินพอดี

ตั้งหลักของชีวิตดีดี
ก่อนที่ชีวิตจะมากไป-ก่อนที่ชีวิตจะน้อยเกิน
ไม่พอดี!!!

Shutter Lover